วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553



การดูแลกล้วยไม้ป่าของชาวบ้านมีดังนี้

1. แกะออกมาจากต้นไม้ที่ตัดทิ้งไป
2. นำมามัดติดต้นไม้ด้วยเชือกฟาง
3. รดน้ำทุกวันเพื่อให้รากติด
4. พอรากติดแล้วไม่ต้องดูแลอะไรเลย
เพียงแค่นี้เองครับ กล้วยไม้ก็ไม่เห็นจะตายเลยครับ ไม่เคยรดน้ำอีกเลย อาศัยแค่น้ำฝนในฤดูฝน ถึงเวลาออกดอกก็ออกดอก ในขณะที่ผมดูแลอย่างดี
รดน้ำทุกเช้า ให้ยา ให้ปุ๋ยทุกสัปดาห์ กลับไม่มีความแตกต่างกันเลย (ต่างแค่ใบกล้วยไม้ผมเขียวกว่า ไม่มีฝุ่นเกาะ อิอิ) เอารูปเจ้าสามปอยต้นนี้
ซึ่งติดอยู่กับต้นไม้ต้นหนึ่งอยู่หน้าศูนย์สาธิืตการตลาดบ้านปรางค์ มาให้ชมครับ สวยมากทีเดียวครับสำหรับสามปอยต้นนี้ ซึ่งชาวบ้านได้มาจาก
ต้นไม้ที่ตัดออกเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการปลูกข้าวอย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั่นเอง
จากรูปเราจะเห็นได้ว่ากล้วยไม้ต้นนี้ แห้งมาก ๆ ไม่เคยรดน้ำเลย ตั้งแต่ฤดูฝนเป็นต้นมา แต่มันก็ไม่ตาย แต่กลับให้ช่อดอกยาว ๆ ออกมาถึง 9 ช่อ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ได้ให้เพื่อนปฏิบัติตามนะครับ เพียงแค่เอามาให้ดูว่า “ไม่รดน้ำ ก็ไม่ยักกะตายแฮะ??” และอยากจะบอกว่ากล้วยไม้ เราอย่ารักเค้า
มากเกินไป หมายถึงว่า “อย่ารดน้ำเค้าบ่อยเกินไป อยู่เปลี่ยนย้ายที่เค้าบ่อย อย่าให้สารเคมีเข้มข้นเกินไป” กล้วยไม้สามารถปรับสภาพตัวเองให้เข้ากับ
สภาพแวดล้อมได้บ้าง แต่ “เราควรปรับสภาพแวดล้อมให้เข้ากับกล้วยไม้ให้มากที่สุด”
ในที่นี้ชาวบ้านเค้าเอามาจากต้นไม้ในนา ซึ่งอยู่ในเขตตำบลเดียวกัน ซึ่งแน่นอนว่าสภาพแวดล้อมไม่ต่างกันมากนัก ต่างกันเพียงว่า แต่ก่อนอยู่บน
ต้นไม้สูง แต่ตอนนี้มาอยู่ข้างถนน แต่เขาก็ยังปรับสภาพได้ดี ฝากถึงเพื่อน ๆ ที่นำกล้วยไม้ที่ไม่ใช่้กล้วยไม้ในเขตพื้นที่ของตน เช่น ตัวเองอยู่อิสาน
อากาศร้อน แล้ง แต่กลับนำกล้วยไม้ เช่น มณีไตรรงค์ ซึ่งอยุ่บนดอยสูง เช่น ดอยอินทนนท์มาเลี้ยง ซึ่งบอกได้ว่า รอดยากมาก ควรเลือกไม้ที่ได้รับ
การพัฒนาสายพันธุ์แล้ว และไม้ที่เข้ากับสภาพแวดล้อมบ้านเรา เช่น อิสานมีความแล้ง ต้องเลือกไม้เช่น สามปอย ช้าง ไอยเรศ เขาแกะ เป็นต้น
มาเลี้ยงเพื่อที่ว่าจะได้รอดและดูดอกได้ในทุก ๆ ปี ไม่ใช่ว่าดูได้ปีเดียว ปีต่อไปก็เดี้ยงซะล่ะ!!!






กล้วยไม้ป่า


การดูแลกล้วยไม้ป่าของชาวบ้านมีดังนี้

1.